Last updated: Feb 15, 2017 | 756 จำนวนผู้เข้าชม | สิทธิผู้หญิง , เกษตรกรรมยั่งยืน
แอ็คชั่นเอดอินเตอร์เนชั่นแนล และ เครือข่ายความมั่นคงด้านอาหารแห่งเอเชีย(สาขาภูมิภาคของเครือข่ายความมั่นคงด้านอาหารนานาชาติ) ร่วมกันจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางเกษตรกรรม เพื่อแบ่งปันความรู้และวิธีการทำเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย เกษตรกรรายย่อยจากเวียดนาม พม่า และไทยมีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อมูลการเกษตรแบบยั่งยืนที่ชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้นำไปสู่การสัมมนา “เกษตรกรอาเซียนและความท้าทายเรื่องความเป็นธรรม” ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของไทย องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก สวนผักคนเมืองFolk Rice และ Asian partnership for the Development of Human Resources in Rural Asia (AsiaDHRRA) ได้เข้าร่วมการสัมมนาผ่าน Skype ด้วย เครือข่ายที่เข้าร่วมตกลงที่จะทำงานในด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกัน
นอกจากการแบ่งปันประสบการณ์การทำเกษตรฯแล้ว กลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่กว่ายี่สิบคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงได้เรียกร้องให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญต่อเกษตรรายย่อยที่ทำเกษตรแบบยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับโอกาสที่ไม่เป็นธรรมในการเข้าไปมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจในระดับนโยบาย ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่มีโอกาสที่มากกว่าในการเข้าถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจ นอกจากนั้นการขาดเงินทุนรวมไปถึงค่าใช้จ่ายด้านสารเคมีทางการเกษตรที่มีราคาสูงเป็นปัจจัยที่ผลักดันเกษตรกรตกอยู่ในภาวะหนี้สิน ทรัพยากรที่ดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆก็กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่และการขยายเมือง
Nong Thi Hong เกษตรกรหญิงจากเวียดนามกล่าวว่า
เราเผชิญความท้าทายมากมายเช่นการกว้านซื้อที่ดิน งานที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในครอบครัวที่ผู้หญิงต้องรับผิดชอบ รวมไปถึงการอพยพเข้าเมืองของคนรุ่นใหม่ อาเซียนควรให้การสนับสนุนการรวมกลุ่มและการจัดตั้งสหกรณ์ให้กับกลุ่มเกษตรกรหญิงรายย่อยเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
Zin Mar Win เกษตรกรหญิงจากพม่ากล่าวว่า
บริษัทนำเข้าสารเคมีทางด้านเกษตรต่างๆได้รับสิทธิพิเศษด้านเศรษฐกิจมากกว่าเกษตรกรรายย่อยที่อยู่ในภาวะหนี้สินเสียอีก เราต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาคมอาเซียนในการเรียนรู้และฝึกปฎิบัติการทำเกษตรแบบยั่งยืนที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิได้
มัทนา อภัยมูล เกษตรกรหญิงจากประเทศไทยกล่าวว่า
เราใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีต่างๆในการทำเกษตรยั่งยืน เพื่อลดภัยคุกคามที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) แต่เรายังต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลและประชาคมอาเซียนมากยิ่งขึ้นเพื่อขยายความสำเร็จของเรา
ข้อเรียกร้องที่กลุ่มมีต่อรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้แก่:
ซึ่งคู่มือฯดังกล่าวมีขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างความมั่นคงด้านอาหารสำหรับทุกคนและสนับสนุนให้การทำงานด้านสิทธิด้านอาหารภายใต้บริบทของความมั่นคงด้านอาหารแห่งชาติมีความคืบหน้า นอกจากคู่มือฯจะสนับสนุนการกำจัดความหิวโหยและความยากจนแล้ว แนวทางของคู่มือฯยังส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน ความมั่นคงทางสังคม การพัฒนาชนบท การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจ
กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมงานครั้งนี้ยังได้หารือถึงความสำคัญของประชาคงอาเซียนและเรียกร้องให้:
by Chokdee Smithkittipol
Thailand team
Youth and Education Program Officer